กรดไหลย้อน สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

Last updated: 26 ม.ค. 2562  |  10856 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรดไหลย้อน สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

     สถิติผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ 5 ปีที่แล้ว ยังแทบไม่มีคนรู้จักโรคนี้เลยด้วยซ้ำ อะไรคือสิ่งที่ทำให้โรคกรดไหลย้อน กลายเป็นหนึ่งในโรคระบบทางเดินอาหารที่เป็นกันมากที่สุด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคกรดไหลย้อน เพื่อเป็นความรู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร มีอาการและข้อสังเกตุอย่างไร และมีวิธีรับมือป้องกัน รักษาโรคนี้ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำได้อย่างไรค่ะ



กรดไหลย้อน คืออะไร ?


กรดไหลย้อน คือภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นมากัดกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการหย่อนและอักเสบ ซึ่งบริเวณของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารอยู่ตรงกับตำแหน่งหน้าอกพอดี ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจึงมีอาการหลักคือแสบร้อนกลางอก จุกแน่นหน้าอก กลืนลำบาก อาหารไม่ย่อย หากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาจมีอาการอื่นๆแทรกซ้อน เช่น โรคไส้เลื่อนกระบังลม, มะเร็งหลอดอาหาร, หูรูดหลอดอาหารอักเสบ เป็นต้น

 

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน คือ กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ไม่ดี ไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์ ในทางแพทย์แผนโบราณคือ ธาตุไฟย่อยอาหาร (ไฟปริณามัคคี) หย่อน อาหารที่ย่อยไม่หมดตกค้างในกระเพาะ ลำไส้ก็เกิดการบูดเน่า เกิดเป็นลมแก๊สดันตัวขึ้นมาพร้อมน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจึงมีอาการเรอบ่อย เรอเปรี้ยว ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะการเสื่อมหรือหย่อนของการย่อยอาหารมีดังนี้


1. พฤติกรรมกินเร็ว กินไม่ตรงเวลา กินอาหารย่อยยาก พฤติกรรมเหล่านี้หากทำสะสมนานๆ ทำให้กระเพาะอาหารค่อยๆทำงานหนักขึ้น เพราะกระเพาะต้องหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าเดิมเพื่อย่อยอาหารชิ้นใหญ่ๆที่ย่อยยาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะอาหาร


2. กินแล้วนอน วิถีชีวิตและพฤติกรรมการทานอาหารในปัจจุบันแตกต่างกับในสมัยก่อน การทานอาหารมื้อดึกกลายเป็นส่วนนึงของการใช้ชีวิต สิ่งที่ตามมาคือการกินแล้วนอนทันที ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ก่อโรคกรดไหลย้อน เพราะทันทีที่เราเอนตัวนอนในระหว่างที่กระเพาะยังย่อยอาหารไม่เสร็จ (โดยทั่วไปคือ 3-4 ชั่วโมง) น้ำย่อยในกระเพาะจะไหลย้อนขึ้นมาตามแรงโน้มถ่วงทันที การกินแล้วนอนสะสมเป็นระยะเวลานานๆ จึงทำให้น้ำย่อยค่อยๆกัดหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการอักเสบนั่นเอง

3. ทานอาหารไม่ถูกกับร่างกาย ทานอาหารไม่สมดุลย์ เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ลำไส้แห้ง ทานเนื้อสัตว์บ่อยๆ ไม่ทานผักผลไม้ รวมถึงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

4. ความเครียด กังวล นอกจากทำให้สุขภาพจิตเสียแล้ว ยังกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหารอีกด้วย เนื่องจากภาวะเครียด วิตกกังวลส่งผลต่อตับโดยตรง

5. ความเสื่อมของอวัยวะภายใน เนื่องจากอายุมากขึ้น ซึ่งมักพบในผู้สูงวัย เนื่องจากอวัยวะภายในเริ่มเสื่อมสภาพไปตามช่วงวัยอายุ จึงทำให้ระบบการย่อย การดูดซึมทำงานได้ไม่สมบูรณ์เป็นผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายกว่าวัยรุ่นหรือวัยกลางคน

 

อาการของโรคกรดไหลย้อน

     นอกจากอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อยแล้ว ยังมีอาการอื่นๆที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระดับของอาการ และระยะเวลาที่เป็นมา เราสามารถสังเกตุและวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเองว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนจากการสังเกตุอาการและความผิดปกติดังนี้

• มีอาการจุกแน่นที่ลำคอ กลืนข้าวไม่ลง หรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ อาการเหล่านี้ เกิดจากลมในกระเพาะอาหารดันตัวขึ้นมาค้างอยู่เบื้องบน มักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือช่วงบ่ายหลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ


• เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เกิดจากลมตีขึ้นมาบริเวณศีรษะ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงด้วย

• แสบที่คอ มีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปาก เจ็บคอ เสียงแหบ เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมากัดบริเวณลำคอ และขึ้นมาที่ปาก หากมีอาการแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นกรดไหลย้อนในระยะเริ่มรุนแรง

• ท้องผูก หรือถ่ายเป็นมูลแพะ เนื่องจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมได้ดี ทำให้ของเสียตกเกาะเป็นก้อนค้างในลำไส้ การดื่มน้ำน้อยยังทำให้ลำไส้ร้อนและแห้ง ถ่ายลำบากอีกด้วย

• ไอเป็นโลหิต อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีเลือด หากมีอาการเหล่านี้ คือเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน อาจมีเลือดออกภายใน ซึ่งเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อน ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด

 

แนวทางการบรรเทาและรักษาโรคกรดไหลย้อน
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้น เป็นทั้งการบรรเทาและป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ เพราะโรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุหลักมาจาพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิต ซึ่งการปรับพฤติกรรมนั้น อาจทำได้ด้วยการ ทานอาหารให้ช้าลง

2. การทานยาแผนปัจจุบันเพื่อบรรเทาและระงับอาการ เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ซึ่งยาเหล่านี้ถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะสำหรับการใช้เพื่อบรรเทาอาการในระยะเวลาสั้นๆ หากอาการหายแล้ว ก็สามารถหยุดทานได้

3. การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยยาสมุนไพร ซึ่งแนวทางการรักษาด้วยยาสมุนไพร จะใช้ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขับลม บำรุงกระเพาะ บำรุงน้ำดี ฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร รวมถึงการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการสมานแผลในกระเพาะและการลดการอักเสบภายใน



ตำรับยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร

     ยาขับลมตราเพชรแดง ตำรับยาจากสมุนไพร 4 ชนิด เปล้าตะวัน กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฟื้นฟูระบบย่อย (ในทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า บำรุงไฟย่อย หรือ ไฟกองปริณามัคคี) สมานแผลในกระเพาะอาหารและรักษาโรคกรดไหลย้อน ดูรายละเอียดยาเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้