ระบบย่อยอาหารของร่างกาย สำคัญอย่างไร?

Last updated: 5 มี.ค. 2562  |  97902 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบย่อยอาหารของร่างกาย สำคัญอย่างไร?

     ทุกวันนี้เราทานอาหาร เพื่อนำคุณค่าทางโภชนาการ หรือสารอาหารมาหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ระบบภายในต่างๆทำงาน เพื่อให้ร่างกายดำรงค์อยู่ได้ อาหารที่เราทานเข้าไปนั้น จะถูกแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งเกิดจากปฏิกริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลของอาหารแตกตัว แป้ง กลายเป็นกลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส โปรตีน กลายเป็นกรดอะมิโน ไขมัน กลายเป็นกรดไขมัน ซึ่งกระบวนการแปรสภาพนี้เรียกว่า การย่อยอาหาร

     การย่อยอาหาร เริ่มตั้งแต่เราทานอาหารเข้าปาก ไปจนถึงการขับถ่ายออกทางทวารหนัก เรียกว่า ระบบย่อยอาหาร ซึ่งใช้เวลาประมาณ 16-28 ชั่วโมง โดยมีการย่อย 2 แบบคือ การย่อยเชิงกล และ การย่อยเชิงเคมี



1. การย่อยเชิงกล คือการทำให้อาหารชิ้นใหญ่ถูกทำให้กลายเป็นชิ้นที่เล็กลงโดยการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ใช้ย่อยอาหาร เช่น การบดเคี้ยวด้วยฟัน การบีบรัดตัวของหลอดอาหารเพื่อลำเลียงอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร รวมถึงการบีบรัดตัวของลำไส้และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร

2. การย่อยเขิงเคมี คือการแปรสภาพโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยใช้เอนไซม์ หรือน้ำย่อยเป็นตัวทำปฏิกริยา เช่น เอนไซม์ในน้ำลาย ที่ช่วยย่อยและคลุกเคล้าอาหารในปาก กรดเกลือในกระเพาะ ที่ใช้ย่อยอาหาร เป็นต้น

     อวัยวะภายในร่างกายที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารมีเยอะ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ทวารหนัก ซึ่งหากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ทำงานผิดปกติไป จะทำให้กระบวนการย่อยไม่สมบูรณ์ หรือที่เราเรียกว่า "ภาวะอาหารไม่ย่อย”



     ภาวะอาหารไม่ย่อย ก่อให้เกิดผลอย่างไรบ้าง? สิ่งแรกที่สังเกตุเห็นได้คือ การเกิดลมหรือแก๊สในกระเพาะ ทำให้เกิดอาหารท้องอืด แน่นท้อง เมื่อระบบย่อยไม่ดี การดูดซึมของลำไส้ก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาหารท้องผูก อุจจาระตกค้างในลำไส้ เป็นริดสีดวงทวาร ส่วนลมในท้อง หากลอยขึ้นมาพร้อมพัดเอาน้ำย่อยขึ้นมาบริเวณลำคอ ก็จะมีอากาการแสบร้อนกลางอก จุกแน่นที่หน้าอก เหมือนมีก้อนอะไรมาจุกที่คอ เรียกว่า ภาวะกรดไหลย้อน หรือ โรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหาร โรคเหล่านี้เรียกว่า โรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งในปัจจุบันสาเหตุหลักคือ พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น เคี้ยวข้าวเร็ว ทานอาหารไม่ตรงเวลา กินแล้วนอนทันที รวมถึงภาวะเครียด กังวล การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์บ่อยๆ หากเราปล่อยอาการเหล่านี้ไว้นานจนเป็นเรื้อรัง ก็มีโอกาศเสี่ยงทำให้เกิดโรคอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ กระเพาะทะลุ ไส้ตีบ หูรูดหลอดอาหารอักเสบ ตับอักเสบ ฯลฯ



ตำรับยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร

     ยาขับลมตราเพชรแดง ตำรับยาจากสมุนไพร 4 ชนิด เปล้าตะวัน กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฟื้นฟูระบบย่อย (ในทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า บำรุงไฟย่อย หรือ ไฟกองปริณามัคคี) สมานแผลในกระเพาะอาหารและรักษาโรคกรดไหลย้อน ดูรายละเอียดยาเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
การปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอาหารไม่ย่อย

• ค่อยๆทานอาหาร ไม่ทานเร็ว เคี้ยวให้ละเอียด

• ทานอาหารให้ตรงเวลา และไม่ทานปริมาณที่มากจนเกินไปในแต่ละมื้อ

• หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเกินไป อาหารที่ไม่ไขมันมากๆ

• หลังทานข้าวเสร็จ ไม่ควรนอนทันที ควรนั่งพักให้อาหารย่อยก่อน อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง

• ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์

• ลดหรืองดการสูบบุหรี่จัด

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลายความเครียด และทำให้อวัยวะภายในมีสุขภาพดี

• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารอย่างสมดุลย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้