Last updated: 27 เม.ย 2563 | 14929 จำนวนผู้เข้าชม |
ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย จุกใต้ลิ้นปี่ แสบร้อนและจุกแน่นท้อง... ถ้ามีอาการเหล่านี้ สามารถสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าอาจเกิดจากโรคกระเพาะอาหาร/แผลในกระเพาะ ซึ่งอาจเกิดได้จากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้องสะสมมาเป็นระยะเวลานาน และอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะนั้น คือร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียตัวนึงที่ชื่อ เอชไพโรไล (H.pylori) ซึ่งเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ รวมถึงวิธีการป้องกันรักษากันค่ะ
รู้จักกับเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori
เชื้อแบคทีเรียเอชไพโรไล เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อน (เช่นประเทศในภูมิภาคเอเชีย) ซึ่งมักจะพบในอาหารดิบๆ น้ำไม่สะอาด และอุปกรณ์การปรุง ช้อนส้อมที่สกปรกปนเปื้อน โดยเชื้อตัวนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระเพาะและกระเพาะอาหารอักเสบ
กระเพาะอาหารของคนเรานั้นมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เพราะใช้ในการย่อยอาหารและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ทำให้เชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดไม่สามารถชีวิตอยู่ได้ แต่ไม่ใช่กับเชื้อเอชไพโรโล เพราะเชื้อตัวนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการทนสภาวะความเป็นกรดสูงได้ หากเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะไปฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารได้เป็น 10 ปี โดยผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา
แล้วจะทราบได้อย่างไร ว่าเราติดเชื้อ H.Pylori ?
อาการที่แสดงออกจากการติดเชื้อ แบ่งได้เป็น 2 ระยะได้แก่
วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไพโรไล
• หลีกเลี่ยงอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ของหมักดอง และผักสด (เนื่องจากล้างไม่สะอาด)
• ดื่มน้ำสะอาด
• ทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบอาหาร รวมถึงภาชนะที่ใช้ทานอาหารให้สะอาดหลังจากใช้งานเสร็จ
• หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนร่วมกัน เนื่องจากเชื้อนี้สามารถติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งได้
การกำจัดเชื้อ H.Pylori
หากตรวจพบเชื้อ H.Pylori แนวทางการรักษาของยาแผนปัจจุบันจะใช้ยาลดกรด 1 ชนิดร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด ทานเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์เพื่อกำจัดเชื้อ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการจากแผลในกระเพาะอาหารมานาน อาจจะยังมีแผลในกระเพาะอาหารอยู่
ยาสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร
ยาขับลมตราเพชรแดง ใช้ตัวยาหลักจาก สมุนไพรเปล้าตะวัน อุดมด้วยสารสำคัญจากเปลาโนทอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ H.Pylori มีงานวิจัยบอกว่า หากทานร่วมกับยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ H.Pylori ได้ดีมากขึ้น สารเปลาโนทอล ยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างเยื่อบุกระเพาะที่ถูกทำลายไป สมานแผลในกระเพาะอาหาร และใช้ตัวยาเสริมคือ กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ ซึ่งมีสรรพคุณในการขับลม บำรุงกระเพาะ ฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร สามารถทานร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ ปลอดภัย ดูรายละเอียดยาเพิ่มเติม คลิกที่นี่
4 ก.ย. 2562
7 พ.ค. 2561
27 ก.ย. 2561